กรรมการไตรภาคี ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ให้ความเห็นกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สั่งทบทวนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 โดยต้องการตัวเลขที่ 400 บาท โดยให้ความเห็นแย้งว่าต้องการรักษาสภาพจ้างงาน แนะรัฐบาลแก้ของแพงดีกว่า
กรรมการไตรภาคี ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง ให้ความเห็นกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สั่งทบทวนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 โดยต้องการตัวเลขที่ 400 บาท โดยให้ความเห็นแย้งว่าต้องการรักษาสภาพจ้างงาน แนะรัฐบาลแก้ของแพงดีกว่า
.
นายอรรถยุทธ ลียะวณิช คณะกรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง ระบุว่า ในเมื่อคณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบไปด้วยฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ มีมติเป็นเอกฉันท์ ตกลงกันไปแล้วว่า ภาพรวมทั่วประเทศ ได้ขึ้นค่าจ้างอีก 2-16 บาท ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ที่จะใช้ในปี 2567 จะอยู่ที่วันละ 330- 370 บาท แตกต่างกันเป็นรายพื้นที่เศรษฐกิจ โดยภาพรวมทั่วประเทศ ได้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2.37% สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง กันยายน 2566 อยู่ที่ 2.04%
.
ขณะที่ นายวีรสุข แก้วบุญปัน คณะกรรมการค่าจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ระบุว่า ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ ถึงแม้ลูกจ้าง จะไม่พอใจ ต่อให้ได้ขึ้นไปถึงวันละ 400 บาท ก็ยังไม่พอกิน พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ที่ตกลงกันได้ในอัตรา 330-370 บาท เป็นจุดสมดุลเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ ที่นายจ้างจ่ายไหว ไม่เดือดร้อนกับการประกอบกิจการ ขณะที่ อัตราใหม่ ถึงจะได้ขึ้นน้อย แต่ลูกจ้างก็พออยู่ได้ จึงไม่ได้เรียกร้องค่าจ้างที่สูงเกินไป และประเด็นสำคัญ เพื่อรักษาภาวะการจ้างงานให้คงอยู่ ให้แรงงานมีงานทำ มีรายได้ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด พร้อมเสนอให้ภาครัฐ ควบคุมราคาสินค้า แก้ปัญหาข้าวของแพง แก้ไขปัญหาปากท้องให้เป็นรูปธรรม
********